“อะคริลาไมด์” ในกาแฟรู้แล้วกลัวทำไม??

Last updated: 22 พ.ค. 2566  |  2623 จำนวนผู้เข้าชม  | 

“อะคริลาไมด์” ในกาแฟรู้แล้วกลัวทำไม??

“อะคริลาไมด์” ในกาแฟรู้แล้วกลัวทำไม

            ข่าวล่าสุดที่สะเทือนวงการกาแฟในช่วงนี้คงจะไม่พ้น สารอะคริลาไมด์ที่พบในกาแฟ ซึ่งสารอะครีลาไมด์ (Acrylamide) สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีการนำมาผ่านความร้อนสูง เช่น ขนมอบกรอบที่ต้องผ่านการทอดด้วยความร้อนสูง เป็นต้น กาแฟอาจเกิดสารอะครีลาไมด์ (Acrylamide) ได้จากขั้นตอนการคั่วกาแฟ

             (Acrylamide)” ซึ่งเป็นสารที่สัมพันธ์กับโรคมะเร็ง หากร่างกายได้รับสารดังกล่าวเกินปริมาณที่กำหนดไว้ จะมีความเสี่ยงและทำให้เป็นมะเร็งได้ แต่รู้หรือไม่ว่า สารอะคริลาไมด์ที่พบในกาแฟนั้นมีน้อยมากจนไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ในที่ช่วงนี้กำลังวิตกกังวล หรือลังเลว่าจะดื่มกาแฟต่อดีไหม ไปไขข้อสงสัยด้วยกันเลยค่ะ

            จากการศึกษาของประเทศโปแลนด์นั้นพบว่า ในกาแฟคั่วบดหรือกาแฟสด 160 ซีซี (หรือประมาณ 1 แก้ว) มีสารอะคริลาไมด์ 0.15-1 ไมโครกรัม ซึ่งมีตัวเลขกำหนดไว้ว่าร่างกายคนเราควรได้รับสารอะคริลาไมด์ไม่เกิน 2.6 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หากได้รับมากกว่านั้นก็จะก่อให้เกิดมะเร็ง นั่นแปลว่าหากคุณน้ำหนัก 40 กิโลกรัม จะเกิดมะเร็งได้ต้องได้รับสารอะครีลาไมด์เกิน 40 x 2.6 = 104 (น้ำหนักตัว×ปริมาณสารอะคริลาไมด์ที่ไม่ควรเกิน คือ 2.6 ไมโครกรัม =จำนวนไมโครกรัมที่ไม่ควรเกิน ) 

            ซึ่งในกาแฟ 1 แก้วมีสารอะคลิลาไมด์เพียงแค่ 0.15-1 ไมโครกรัมเท่านั้น แปลว่าในคนที่มีน้ำหนักตัว 40 กิโลกรัม จะต้องบริโภคกาแฟมากกว่า 104 แก้ว จึงจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง แต่ว่าเมื่อร่างกายได้รับอะคริลาไมด์จะดูดซึมอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้น 2-3 ชั่วโมงก็จะถูกขับออกจากร่ายกายผ่านทางปัสสาวะ จึงไม่ทำให้เกิดการสะสมหรือเกิดผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวแม้เราจะดื่มกาแฟเป็นประจำก็ตามค่ะ ชาวคอกาแฟอย่างเราคงสบายใจแล้วใช่ไหมคะเพราะว่าสารอะคริลาไมด์ที่พบในกาแฟ

            นั้นมีปริมาณน้อยมากจนไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาธารณสุขจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ในสหรัฐอเมริกา ก็พบว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐแคลิฟอร์เนียนั้นตรงกันข้ามกับผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์บางชิ้นที่เผยว่า กาแฟอาจช่วยต้านโรคมะเร็งบางชนิดได้ ถ้าเราไม่เติมน้ำตาลหรือสารให้ความหวานอื่นที่มากจนเกินไปในกาแฟ ชา และน้ำดื่มนั่นเองค่ะ

 

เรียบเรียงโดย Hillkoff Academy


ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
Rama Channel
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article
https://mgronline.com/sport/detail/9650000038020


ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย
https://www.thairath.co.th/news/society/1342117


สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม
https://goodlifeupdate.com/healthy-body/220826.html
http://fic.ifrpd.ku.ac.th/fic/index.php/en/informaton-service-menu-en/food-news-menu-en/food-news-main-menu/517-food1-09-04-2018

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้ Cookies Policy